ชื่อสามัญ : Thanyakan
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea ‘Thanyakan’
ชื่อวงศ์ : Nymphaeaceae
ผู้ผลิต/ถิ่นกําเนิด : ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร (ประเทศไทย)
ปีที่ผลิตปีที่ผลิต/ปีทีค้นพบ : 2549
ประวัติ : เป็นบัวสายเขตร้อนบานกลางคืน โดยการคัดเลือกสายพันธุ์จาก ผศ.ภูรินทร์ อัครกุลธร โดยชื่อของบัวมาจากคำว่า “ธัญ” ซึ่งมาจาก ชื่อของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี “กาฬ” ความหมายว่า แดง ดำ (ดอกสีแดงเหลือบม่วง หลังใบมีจุดประสีดำ) เป็นบัวที่มีลักษณะดอก และใบ สีแดงเหลือบม่วงดำ เป็นบัวที่บานในช่วงเวลากลางคืน หรือในที่มืด หลังใบมีจุดประสีดำ
ลักษณะทั่วไป
ก้านใบ – ก้านดอก
มีลักษณะก้านที่อ่อนนิ่มสีน้ำตาลแดง ไม่มีขน
ใบ
แผ่นใบลอยบนผิวน้ำมีรูปไข่ หลังใบมีจุดสีน้ำตาลเข้มกระจายบาง ๆ ปลายใบมน ฐานใบเปิด ขอบใบจักเป็นระเบียบ ปลายฐานใบแหลมเป็นจะงอย ใบอ่อน : มีรูปหอก ขอบใบเรียบ หน้าใบและหลังใบสีน้ำตาลแดงเข้ม มีจุดประสีดำ ใบแก่ : มีรูปกลม หน้าใบและหลังใบสีน้ำตาลแดงเข้ม มีจุดประสีดำ
ดอก
กลีบดอกเรียวยาว ปลายกลีบมน กลีบชันนอกและกลีบชันในมีสีแดงเข้ม มีกลีบเลี้ยงด้านนอกมีสีน้ำตาล กลีบเลี้ยงด้านในมีสีแดงเข้ม ก้านชูเกสรเพศผู้สีแดงปลายก้านสีดำ อับละอองสีเหลือง ดอกตูม : รูปทรงรียาว ดอกบาน : แผ่ครึ่งวงกลม