ดอกของบัวอุบลชาติ มีลักษณะ เด่นที่สามารถแบ่งได้ดังนี้

- รูปทรงดอก
- กลีบเลี้ยงและกลีบดอก
- ความซ้อนของกลีบเลี้ยงและกลีบดอก
- สี
- กลิ่น
รูปทรงดอกมี 3 ลักษณะคือ
- ดอกตูมทรงยาว เมื่อบานทรงป้อมรูปถ้วย
- ดอกตูมค่อนข้างป้อม เมื่อบานจะเป็นทรงครึ่งวงกลม
- ดอกตูมทรงป้อม เมื่อบานดอกบานจะแผ่ออกมากกว่าครึ่งวงกลม (ค่อนข้างกลม)
กลีบเลี้ยงและกลีบดอก มี 3 ลักษณะคือ
- กลีบเรียวยาว มัทั้งปลายเรียวแหลมและปลายมน
- โคนและปลายกลีบแคบ กลีบเรียวทั้งปลายเรียวแหลมและปลายมน
- โคนกลีบครึ่งล่างกว้างและครึ่งปลายมน
- โคนกลีบครึ่งล่างกว้างและครึ่งปลายมีทั้งปลายเรียวแหลมและปลายมน
ความซ้อนของกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มี 3 ลักษณะ
- ซ้อนน้อย โดยมีกลีบรวมกันไม่ถึง 20 กลีบ
- อน โดยมีกลีบรวมกันประมาณ 20 – 30 กลีบ
- ซ้อนมาก โดยจะมีดอกรวมกันมากว่า 30 กลีบ
สี สามารถแบ่งได้ตามชนิดได้ 3 ชนิด คือ
- อุบลชาติยืนต้นหรือบัวฝรั่งมี 5 สี คือ ขาว ชมพู แดง เหลือง และส้มอมแสด (โดยสามารถเปลี่ยนสีได้จากวันแรกที่บาน ไปจนวันสุดท้าย)
- อุบลชาติลมลุกบานกลางวันมีทุกสี ยกเว้นสีดำ
- อุบลชาติล้มลุกบานกลางคืนมี 3 สี คือ ขาว ชมพู และแดง
กลิ่น มักพบกลิ่นหอมในอุบลชาติล้มลุกกลางวัน เช่น บัวผัน บัวเผื่อน

ก้านใบ ก้านใบของบัวอุบลชาติ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
- อุบลชาติยืนต้นหรือบัวฝรั่ง สามารถพบได้ทั้งชนิดที่มีขนและชนิดที่ไม่มีขน
- อุบลชาติล้มลุก เช่น บัวผัน บัวเผื่อนส่วนใหญ่จะไม่มีขน แต่เราสามารถพบขนของอุบลชาติล้มลุกได้ในบัวสาย บางชนิด
- ขน ลักษณะขนบนใยบัวอุบลชาติมี 2 แบบ คือ
– ขนสั้นบาง
– ขนยาวหนา
ใบของบัวอุบลชาติ มีลักษณะเด่นที่สามารถแบ่งได้ดังนี้
- สีใบ
- ขอบใบ
- ปลายใบ
- รูปร่างของใบ
- หูใบ
- ขนบนใบบัว
สีใบ แตกต่างกันระหว่างด้านบนและด้านใต้ใบ
รูปร่างของใบ พบได้ทั่วไป 2 ลักณษณะ คือ
ขอบใบมี 4 ลักษณะคือ
- ขอบใบเรียบ
- ขอบใบย่น
- ขอบใบจักมนไม่เป็นระเบียบ
- ขอบใบจักแหลมเป็นระเบียบ
หูใบ สังเกตความแตกต่างได้จากใบบัวที่แก่จัดมี 3 ลักษณะ คือ
- หูใบปิด
- หูใบเปิด
- หูใบเปิดมาก (เกิน 90 องศา)
ปลายใบ มี 3 ลักษณะ คือ
- ปลายใบมน
- ปลายใบเว้าเข้า
- ปลายใบแหลม
ขนบนใบบัว พบได้ 2 ชนิด คือ
- ชนิดที่มีขน
- ชนิดที่ไม่มีขน