บัวเป็นชื่อเรียกของไม้น้ำที่มีใบลอยหรือชูพ้นน้ำ ดอกหลากสีเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำที่เราๆ ท่านๆ รู้จัก ที่จริงแล้วมีการกล่าวถึงไม้น้ำชนิดนี้มานานมากแล้ว ในแหล่งอารยธรรมต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีความเกี่ยวข้องหรือมีหลักฐานเป็นภาพปรากฏตามแหล่งวัฒนธรรมสำคัญมากมา ทั้งในอียิปต์ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย ฯลฯ
อุบลชาติ และปทุมชาติ ก็เป็นชื่อเรียกของบัวเช่นกัน แต่เป็นชื่อเรียกคำกลางๆ ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต “อุบลชาติ” แปลงมาจากคำว่า อุบล หรือ อุตฺปล ในภาษาบาลีสันสกฤต หมายถึง บัวกินสาย บัวก้านอ่อน บัวผัน บัวเผื่อน บัวขาบ ที่นักพฤกษศาสตร์จัดอยู่ในวงศ์ (Family) เดียวกัน คือ Nymphaeaceae ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Waterlily ส่วน “ปทุมชาติ” นั้น แปลงมาจากคำว่าปทุม หรือ ปทฺม ในภาษาบาลีสันสกฤต หมายถึง บัวหลวง หรือบัวก้านแข็ง นักวิทยาศาสตร์จัดอยู่ในวงศ์ (Family) คือ Nelumbonaceae ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษคือ Lotus
“บัว” ราชินีแห่งไม้น้ำ นักพฤกษศาสตร์ได้จัดสกุล (genus) ของไม้น้ำที่คนไทยเรียกว่า “บัว” หรืออุบลชาติ ไว้ในวงศ์ Nymphaeaceae เพราะลักษณะของใบและดอกที่ชูช่ออยู่เหนือน้ำ และความงามของดอกบัวที่เบ่งบานประดุจความงามของหญิงสาวหรือเจ้าสาว คำว่า “Nymph” มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษแปลว่า “สาวน้อย” (beautiful Young Woman) หรือ “แม่เทพธิดาที่อยู่ในน้ำ” และจากลักษณะเด่นอื่นๆ นอกเหนือจากความงามของบัว อาทิ บัวมีหลากสีหลายพันธุ์ ดอกมีสารพัดสีบางพันธุ์มีดอกสีน้ำเงิน ซึ่งพบได้ยากในไม้ดอกอื่นๆ แม้แต่ในดอกเดียวกันก็อาจมีหลายสี หรือบางพันธุ์มีการเปลี่ยนสีของดอกไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาการบาน ดอกบัวยังไม่เหมือนพืชชนิดอื่นอีกที่เมื่อดอกบานแล้วก็บานเลย แต่ดอกบัวจะบานแล้วก็หุบเมื่อหุบแล้วก็บานได้ใหม่อีก ดอกบัวบางพันธุ์ยังมีกลิ่นหอม นอกจากนี้บัวยังเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายและดูแลง่าย สามารถขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ สมญาของบัวที่ได้รับว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้น้ำ” ทั้งมวล จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง

บางสายพันธุ์อยู่ที่สีของดอก บางพันธุ์ให้ดอกสีน้ำเงิน บางพันธุ์ให้ดอกสีเหลือง บางพันธุ์ให้ดอกสีชมพูหรือบางพันธุ์สีสันของดอกจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลาการบานของดอก บางสายพันธุ์ให้มีกลิ่นหอมซึ่งลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้บัวได้ชื่อว่าเป็น “ราชินี้แห่งไม้น้ำ”
บัวกับความเชื่อทางศาสนา
“บัว” ถือเป็นพืชไม้น้ำที่มีความเกี่ยวข้องกับวิธีชีวิต ความเชื่อทางศาสนาและเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์และความเบิกบานซึ่งเห็นได้จากการนำดอกบัว
มาใช้ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่เสมอ
บัวที่ค้นพบในยุคอียิปต์
บัวเป็นพืชที่ถูกค้นพบมานานนับหลายพันปี ดังหลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งค้นพบซากดอกบัวแห้งในสุสานของกษัตริย์รามาเลสและตุตัน คาเมนแห่งอียิปต์ และพบซากโบราณสถานที่มีรูปทรงเหมือนดอกบัวและกลับบัวหลวงจำนวนมากในประเทศอินเดียนอกจากนี้ในเหมืองถ่านหินแห่งหนึ่งในแมนจูเรียและจีนยังถูกค้นพบเมล็ดบัวหลวงที่มีอายุใกล้เคียงกันกับซากดอกบัวและซากโบราณสถานที่ค้นพบในประเทศอินเดีย ซึ่งมีอายุประมาณ 3,000 – 4,000 ปีมาแล้ว