ชื่อสามัญ : Jongkolnee
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea Sp.
ชื่ออื่น : –
ชื่อไทย : จงกลนี
ชื่อวงศ์ : Nymphaeaceae
ถิ่นกําเนิด : ประเทศไทย
ผู้ผลิต : – ปีที่ผลิต : –
ประวัติ : มีการกล่าวถึงบัวชนิดนี้ครั้งแรกในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1800 – 1962) ในวรรณคดี “ไตรภูมิพระร่วง” และได้รับการประกาศในเอกสารสมาคมบัว ปี พ.ศ. 2544 – 2545 ว่าเป็นบัวที่ มีอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น
ลักษณะใบอ่อน : รูปไข่ หน้าใบสีเขียวอ่อน หลังใบสีม่วงแดงเข้ม มีกระสีม่วง เล็กน้อย กระจายทั่วไป
ลักษณะใบแก่ : รูปไข่ หน้าใบและหลังใบสีเช่นเดียวกับใบอ่อน ขอบใบจักมนไม่สม่ําเสมอ ปลายใบเว้าเข้า ฐานใบเปิดบางส่วน ปลายฐานใบแหลมเป็นจะงอย
ขนาดใบ : ใบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 – 25 เซนติเมตร
ลักษณะดอกตูม : ทรงดอกโคนกว้าง ปลายเรียว สีเขียวขี้ม้า
สีกลีบดอก : ชมพูอ่อน ปลายกลีบสีชมพู เข้ม
เกสร : ไม่มีอับเรณู ก้านอับเรณูและเกสร เพศเมีย
ทรงกลีบดอก : โคนกว้างปลายเรียว ทรงดอกบาน : แผ่ครึ่งวงกลม กลีบดอก : ซ้อนมากพิเศษ
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 8-12 เซนติเมตร
กลิ่น : หอมอ่อน ๆ
ช่วงบาน : บานกลางวัน บานแล้วบานเลย ไม่ทุบ บานอยู่ประมาณ 3-4 วัน แล้วก็จะโรย
เวลาบาน : 7.00 น. เป็นต้นไป
ลักษณะก้านใบและก้านดอก : สีม่วงแดง ไม่มีขน
1.การปลูกในสระหรือบ่อ
2.การปลูกในกระถาง : ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร
การพักตัวของบัว : ไม่พักตัว
ความกว้างของผิวน้ํา : กว้าง
ความลึกของน้ํา : ลึก
แสง : รับแดด
การขยายพันธุ์ : หัว
โรค : –
การป้องกันโรค : –
แมลง : เพลี้ยอ่อน หนอนพับใบ หอย
อาการ : เพลี้ยอ่อน จะดูดกินน้ําเลี้ยงที่ก้านดอก หนอนพับใบ หอยจะกัดกินใบเสียหาย
กําจัด : ใช้สารเคมีผสมน้ํา และสารจับใบฉีดพ่นทุกเดือน
การนําไปใช้ประโยชน์ : ปลูกเพื่อเป็นไม้ดอก และไม้ประดับ